Connect with us

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ประกันภาคบังคับ เริ่มต้นหลักร้อย ชดเชยค่ารักษาพยาบาลสูงสุดหลักแสน ประกันออนไลน์ ถูก ง่าย แถมประหยัดเวลา

เช็คเบี้ยประกัน





4.8/5

ทำไมต้องซื้อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ผ่าน Tadoo.co

เพราะรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องมี พ.ร.บ. tadoo.co จึงมีบริการเสนอ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ครอบคลุมรถทุก CC

มาร่วมกับลูกค้ามากกว่าห้าแสนคนด้วยการซื้อ พ.ร.บ.ออนไลน์

รู้หรือไม่ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์คืออะไร มีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถจักรยานยนต์ทุกคันต้องมี เพื่อเป็นหลักประกันว่า หากเกิดอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บ ผู้ขับขี่จะได้รับการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้นทันที แม้ยังไม่พิสูจน์ฝ่ายถูกผิด เช่น ค่ารักษาพยาบาล ทุพพลภาพ เสียชีวิต ครอบคลุมทั้งคนขี่และคนซ้อน

รถจักรยานยนต์มีสำนวนว่าเนื้อหุ้มเหล็ก ขับขี่แต่ละครั้งมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ แม้จะขี่ชำนาญแค่ไหน ก็อุ่นใจกว่าหากมี พ.ร.บ.จักรยานยนต์ แผนการเงินไม่สะดุดหยุดชะงักเพราะเหตุไม่คาดฝัน

เช็คเบี้ยประกัน

วิธีการเช็คราคา พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

เพียง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ คุณก็สามารถเช็คราคา พ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ผ่านหน้าจอได้แล้ว

ตรวจสอบรถ

ตรวจสอบขนาดเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ที่จะทำพ.ร.บ.

เลือกพ.ร.บ.

เลือก พ.ร.บ. ตามขนาดเครื่องยนต์

กรอกข้อมูลส่วนตัว

กรอกข้อมูลผู้ถือกรมธรรม์ เช่น ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด ช่องทางติดต่อ

เปรียบเทียบราคา พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

อ้างอิงอัตราเบี้ยประกันภัยคงที่ ไม่รวมภาษีอากร สำหรับการประกันภัยรถจักรยานยนต์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แบ่งตามขนาดเครื่องยนต์ ดังนี้

<75cc

น้อยกว่า 75 CC 150 บาท

> 75cc – 125cc

มากกว่า 75 CC ถึง 125 CC​ 300 บาท

> 125cc – 150cc

มากกว่า 125 CC ถึง 150 CC 400 บาท

> 150cc

มากกว่า 150 CC 600 บาท

ไฟฟ้า

ไฟฟ้า 300 บาท

ผู้ใช้งานจริงต่างพอใจที่เลือก Tadoo





4.8/5

12,320 รีวิว

ความคิดเห็นของลูกค้า

5/8/2020

เป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลครบถ้วนและหลากหลาย เรื่องประกันรถและ พ.ร.บ.นี่ขอยกนิ้วให้เลยครับ

นิมิตร พุ่มชัย
3/9/2020

เมื่อก่อนเข้าใจว่าใบต่อภาษีกับ พ.ร.บ.คืออันเดียวกัน ถึงบางอ้อก็วันนี้แหละ ขอบคุณเว็บนี้สำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ

น้องอ้อม จินตนา
10/8/2020

ซื้อ พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ที่ tadoo ง่ายกว่าที่ผมคิด รวดเร็วทันใจ ให้ข้อมูลครบถ้วน ผมลองมาแล้ว

นพดล



8/9/2020

วันก่อนผมขับรถเครื่องชนล้ม เป็นแผลที่ขา โชคดีที่ก่อนหน้าอ่านเว็บ tadoo เจอที่ซื้อ พ.ร.บ.ออนไลน์ ไม่งั้นซวยเลย. ใครที่ใช้รถใช้ถนนทุกวัน เข้าไปหาข้อมูลใน tadoo ได้เลย ว่าคุ้มครองอะไรบ้าง ผมแนะนำเลย

กำชัย



13/8/2020

tadoo ช่วยผมประหยัดเวลาไปได้เยอะเลยครับ ทุกปีผมต้องไปเข้าคิวซื้อ พรบ.ที่ขนส่งก่อน กว่าจะได้คิวต่อภาษีอีก เสียเวลานานมาก แต่ปีนี้ไม่ต้องแล้ว ผมซื้อ พ.ร.บ.ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์นี้ ถือไปที่ขนส่ง รอคิวต่อภาษีอย่างเดียว สะดวก ไม่เสียเวลา

กิตติชัย



25/8/2020

เพิ่งรู้ว่าต่อ พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซต์ออนไลน์ก็ได้ ง่ายดีครับ ขาดแค่ต่อภาษีอย่างเดียว ไม่งั้นครบเลย 5555

วัฒนา สมุทรภักดี



พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง?

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ทุพพลภาพถาวร และเสียชีวิต เป็นด่านแรกที่ช่วยจ่ายเงินให้เรา แม้ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าฝ่ายไหนถูกผิด วงเงินชดเชยเป็นดังนี้

เมื่อเกิดรถชน ผู้บาดเจ็บถูกส่งตัวเข้ารักษาพยาบาล ความบาดเจ็บในเบื้องต้นที่ยังไม่พิสูจน์ความผิด บริษัทประกันจะจ่าย ‘ค่าเสียหายเบื้องต้น’ รวมทุกกรณีไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน ภายใน 7 วันหลังจากที่ผู้ถือกรมธรรม์ยื่นเอกสารขอเคลมประกัน ซึ่งจะต้องทำเรื่องภายใน 180 นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ โดยใช้ใบเสร็จแสดงค่ารักษาพยาบาล และเอกสารยืนยันตัวตน เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาพาสปอร์ต เป็นหลักฐานประกอบ กรณีเสียชีวิตต้องใช้สำเนาใบมรณบัตร สำเนาบันทึกประจำวันเพิ่มด้วย

จุดเด่น พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

  • ค่ารักษาพยาบาล สูงสุด 30,000 บาทต่อคน (จ่ายตามจริง)
  • ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต (ค่าปลงศพ) สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุด 35,000 บาทต่อคน
  • ค่ากะโหลกศีรษะเทียม สูงสุด 35,000 บาทต่อคน

เมื่อพิสูจน์ความผิดได้ว่า อุบัติเหตุนั้นเราเป็นฝ่ายถูก วงเงินค่าสินไหมทดแทนจะเพิ่มขึ้น และเพิ่มความคุ้มครองค่าชดเชยนอนโรงพยาบาลสูงสุด 20 วัน กรณีเสียชีวิต จ่ายค่าจัดงานศพ รวมทุกกรณีแล้วจ่ายไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน

จุดเด่นพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

  • ค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 80,000 บาทต่อคน (จ่ายตามจริง)
  • เสียชีวิตหรือพิการถาวร สูงสุด 500,000 บาทต่อคน
  • ค่าปลงศพและจัดงานศพ สูงสุด 250,000 บาทต่อคน (ยกเว้นเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย 180 วันแรก)

เมื่อพิสูจน์ความผิดได้ว่า อุบัติเหตุนั้นเราเป็นฝ่ายถูก วงเงินค่าสินไหมทดแทนจะเพิ่มขึ้น และเพิ่มความคุ้มครองค่าชดเชยนอนโรงพยาบาลสูงสุด 20 วัน กรณีเสียชีวิต จ่ายค่าจัดงานศพ รวมทุกกรณีแล้วจ่ายไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน

จุดเด่น พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

  • สูญเสียอวัยวะมากกว่า 1 ข้าง สูงสุด 200,000 บาทต่อคน
  • สูญเสียอวัยวะมากกว่า 2 ข้าง สูงสุด 500,000 บาทต่อคน
  • นอนโรงพยาบาล พ.ร.บ.จ่ายให้ 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

ซื้อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ง่ายกว่าที่คิด

ไม่มี พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ต่อภาษีและทะเบียนรถไม่ได้ กลายเป็นรถเถื่อน ซื้อประกันแค่หลักร้อย ดีกว่าจ่ายค่าปรับสูงสุดหลักหมื่น หรือบาดเจ็บจากรถชนก็ต้องออกค่ารักษาเองทั้งหมด

Top tip: พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถ ควรซื้อประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ภาคสมัครใจเผื่อไว้ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ณฐพงศ์ สดสชาติ – ผู้ใช้งานจากทางบ้าน

 

ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

ผู้ขับขี่จะมีโอกาสใช้งาน พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ก็ต่อเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เป็นไปได้ขอไม่มีโอกาสใช้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ทุกคนควรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ติดตัวไว้ เมื่อเกิดเหตุจะได้ไม่ติดขัด

พ.ร.บ.คุ้มครองใครบ้าง?
ในอุบัติเหตุครั้งหนึ่ง ๆ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์จะให้ความคุ้มครองผู้บาดเจ็บ ตั้งแต่ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสารที่นั่งมาด้วย และบุคคลที่สามที่ได้รับลูกหลง เช่น คนเดินอยู่บนฟุตปาธ รถแฉลบมาชน

พ.ร.บ. จ่ายค่าเสียหายยังไง?
ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะเบิกค่าเสียหายกับบริษัทประกันที่ผู้เสียหายซื้อกรมธรรม์ กรณีที่อุบัติเหตุมีรถตั้งแต่ 2 คันขึ้นไป และทำให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้โดยสารรถมาด้วยบาดเจ็บ บริษัทประกันของรถทุกคันจะร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้เฉลี่ยราคาเท่ากัน

เสียชีวิต ได้รับเงินชดเชยอะไรบ้าง?

เบื้องต้นจะได้เงินชดเชยค่าความเสียหายสูงสุด 65,000 บาทต่อคน กรณีเป็นฝ่ายถูกจ่ายเต็มวงเงิน 300,000 บาทต่อคน

ค่าจัดงานศพและค่าปลงศพ เบื้องต้นไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น สูงสุด 300,000 บาทต่อคน

ขี่ด้วยความสบายใจเมื่อมี พ.ร.บ.จักรยานยนต์ที่เหมาะสม

ประกันอื่นที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

หากคุณต้องการสิ่งอื่นนอกเหนือจาก พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ทาง Tadoo มีนโยบายอีกมากมากมายให้คุณเลือก

ประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์คุ้มครองรถของคุณกรณีเกิดการชน รถถูกขโมย รถพังจากไฟไหม้ ค่ารักษาพยาบาลนอกเหนือจาก พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ประกันบ้านและสินทรัพย์

คุ้มครองดูแลบ้านที่คุณรัก ช่วยแบ่งความเสี่ยงเงินในกระเป๋าจากค่าซ่อมบ้าน เพราะเสียเงินซื้อบ้านมาแพงแล้ว

เพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ คือ รูปแบบประกันภัยที่เมื่อผู้เอาประกันเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจะได้รับเงินชดเชย

เพิ่มเติม

ประกันชีวิต

ประกันชีวิตเป็นประกันที่มีหลากหลายรูปแบบและมีแผนประกันที่แตกต่างกัน อีกทั้งเบี้ยประกันยังมีราคาสูงเมื่อเทียบกับประกันอื่น ๆ

เพิ่มเติม

ประกันการเดินทาง

เราอยากจะช่วยให้คุณเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างไร้กังวล เราจะช่วยเติมเต็มแผนการท่องเที่ยวของคุณในด้านความปลอดภัยโดยเริ่มต้นง่าย ๆ

เพิ่มเติม

ประกันเสริมรถจักรยานยนต์ เพิ่มความคุ้มครอง

บริษัทประกันบางแห่งจะรวมแพ็คเกจเพิ่มเติมไว้ในแพ็คเกจประกันมาตรฐาน หรือคุณสามารถซื้อเพิ่มเองได้กรณีไม่คุ้มครอง – ลองคิดดูว่าคุณต้องการหรือจำเป็นต้องใช้ตัวไหนก่อนตัดสินใจซื้อ


การสูญเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ: คนขับ 1 คน

ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 2+ และ3+ จะจ่ายค่าชดเชยสินไหมทดแทนกรณีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเหมือนกันโดยจะจ่ายชดเชยสูงสุด 50,000 บาท (ผู้ขับขี่ 1 คน)

ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 2 คน

ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล คือ การคุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของบุคคลที่ขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์คันที่ทำประกันไว้ หากความบาดเจ็บเป็นผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล

การคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลที่สาม

สำหรับประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 2+ และ3+ มีค่าชดเชยสินไหมทดแทนต่อบุคคลที่สามเหมือนกัน ดังนี้
1. ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือ อนามัย 300,000 บาทต่อคน
2. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (ส่วนเกิน จาก พ.ร.บ. / ต่อครั้ง) 10,000,000 บาท
3. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน 600,000 บาทต่อครั้ง

อุบัติเหตุส่วนบุคคล

ในส่วนของอุบัติเหตุส่วนบุคคล การทำประกันรถจักรยานยนต์ชั้น2+ และ3+ จะช่วยดูแลทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร และจะได้รับค่าชดเชยเพิ่มเติมจากความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ในกรณีที่ผู้โดยสารรถจักรยานยนต์เสียชีวิต

อุบัติเหตุส่วนบุคคล

ในส่วนของอุบัติเหตุส่วนบุคคล การทำประกันรถจักรยานยนต์ชั้น2+ และ3+ จะช่วยดูแลทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร และจะได้รับค่าชดเชยเพิ่มเติมจากความคุ้มครองของ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ ในกรณีที่ผู้โดยสารรถจักรยานยนต์เสียชีวิต

ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 2+ และ3+ จะจ่ายค่าชดเชยสินไหมทดแทนกรณีผู้โดยสารรถจักรยานยนต์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเหมือนกันโดยจะจ่ายชดเชยสูงสุด 50,000 บาท (ผู้โดยสาร 1 คน)

จุดเด่นประกันรถจักรยานยนต์

ประกันรถจักรยานชั้น 2+ และ3+ ช่วยดูแลทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
มีประกันรถจักรยานชั้น 2+ และ3+ จ่ายชดเชยเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. กรณีเสียชีวิต
จ่ายเบี้ยประกันไม่มาก คุ้มครองมากกว่า โดยสารปลอดภัย ช่วยเหลือดูแลหากเกิดอุบัติเหตุ

เช็คเบี้ยประกัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

หมดกังวลเมื่อเกิดรถชน เพราะ พ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองทันทีแม้ยังไม่พิสูจน์ความถูกผิด วงเงินคุ้มครองความเสียหายกรณีต่าง ๆ เบื้องต้น ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล ชดเชยสูงสุด 30,000 บาท
  • เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ชดเชยสูงสุด 35,000 บาท
  • ค่าทำกะโหลกศีรษะเทียม จ่ายสูงสุด 35,000 บาท

ไม่เพียงเท่านั้น หากกระบวนการพิสูจน์ทราบว่าเราเป็นฝ่ายถูก วงเงินคุ้มครองจ่ายจะเพิ่มขึ้นและคุ้มครองมากขึ้น ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลสูงสุด ชดเชยสูงสุด 80,000 บาท (จ่ายตามจริง)
  • เสียเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ชดเชยสูงสุด 500,000 บาท
  • ค่าปลงศพและค่าจัดงานศพ ชดเชยสูงสุด 250,000 บาท (ยกเว้นเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย 180 วันแรก)
  • กรณีสูญเสียอวัยวะมากกว่า 1 ข้าง ชดเชยสูงสุด 200,000 บาทต่อคน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะมากกว่า 2 ข้าง ชดเชยสูงสุด 500,000 บาทต่อคน
  • นอนโรงพยาบาล พ.ร.บ.จ่ายให้ 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

สรุปอีกครั้งคือ หากเราเป็นฝ่ายผิด ความคุ้มครองที่เพิ่มมาประกันจ่ายไม่คุ้มครอง คือค่าปลงศพ ค่าเสียชีวิต ค่าสูญเสียอวัยวะ

ข้อดีของพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์คือราคาไม่แพง เรตราคาอยู่ระหว่างหลักร้อยบาท มากน้อยคิดแตกต่างตาม ขนาด CC ของเครื่องยนต์ ดังนี้

  • น้อยกว่า 75 CC 150 บาทต่อปี
  • มากกว่า 75 CC ถึง125 CC​ 300 บาทต่อปี
  • มากกว่า 125 CC ถึง150 CC 400 บาทต่อปี
  • มากกว่า 150 CC 600 บาทต่อปี
  • ไฟฟ้า 300 บาทต่อปี

ทั้งนี้ เบี้ยประกันข้างต้นเป็นราคาคงที่ไม่รวมภาษีอากร เมื่อซื้อผ่าน tadoo.co เบี้ยประกันสุทธิจะมีราคาดังนี้

  • น้อยกว่า 75 CC 161.57 บาทต่อปี
  • มากกว่า 75 ถึง 125 CC 323.14 บาทต่อปี
  • มากกว่า 125 ถึง 150 CC 430.14 บาทต่อปี
  • เกิน 150 CC 645.21 บาทต่อปี

ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ทุกคนต้องเตือนตัวเองไว้เสมอว่า พ.ร.บ.มีอายุกรมธรรม์แค่ 1 ปีเท่านั้น หมายความว่าเราจะต้องต่อ พ.ร.บ.ปีต่อปี มิเช่นนั้นจะถือว่า ‘พ.ร.บ.ขาด’ เพื่อความปลอดภัยว่าพ.ร.บ.จะคุ้มครองอย่างต่อเนื่องไม่มีรอยต่อ ในทางกฎหมายจึงเอื้อให้ว่า ไม่จำเป็นว่ารอให้ พ.ร.บ.ขาดก่อนถึงค่อยต่อ แต่สามารถต่ออายุได้ล่วงหน้าก่อนกำหนดถึง 90 วัน ฉะนั้น อ้างไม่ได้แล้วนะว่าไม่มีเวลา เพราะหากเราขี่รถพ.ร.บ.ขาดไปเจอตำรวจเข้า ถูกปรับบาน สูงสุดถึง 1 หมื่นบาท เข้าข่าย เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ยิ่งสมัยนี้ซื้อพ.ร.บ.ได้ง่าย ๆ ผ่านออนไลน์ tadoo.co ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวกรวดเร็ว เสียเงินแค่หลักร้อย ดีกว่าเสียหลักหมื่นจริงไหม

สำคัญกว่านั้นคือ หากเราปล่อยให้พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ขาด ผลต่อเนื่องคือไม่สามารถจ่ายป้ายภาษีรถได้ อัตราโทษปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน คำนวณง่าย ๆ ภาษีรถราคา 100 บาทต่อปี หากปล่อยให้ป้ายภาษีขาด 6 เดือน เมื่อไปต่อใหม่จะต้องจ่ายเพิ่มเป็น 106 บาท

ประกันภัยรถจักรยานยนต์แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ รถทุกคนต้องมี ไม่งั้นมีโทษตามกฎหมาย เรียกว่า พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ แบบที่ 2. คือประกันภัยภาคสมัครใจ คือ ประกันภัยที่แบ่งเบี้ยประกันตามชั้น ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2

ชื่อว่า ประกันภัย ‘ภาคสมัครใจ’ จึงขึ้นอยู่กับใจเราว่าจะซื้อหรือไม่ กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ Tadoo แนะนำว่าควรซื้อไว้คุ้มครองรถดีกว่า เพราะพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองเพียงอันตราย ความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ขับขี่ แต่ไม่คุ้มครองความเสียหายทรัพย์สิน ตัวรถ นอกจากนี้ หากค่าความเสียหายใหญ่หลวง เกินวงเงินประกันของ พ.ร.บ. ประกันภัยภาคสมัครใจนี่แหละจะเป็นด่านสองที่ช่วยออกค่าชดเชยที่เกินมาแทนเรา

สรุปง่าย ๆ คือ ประกันภัยภาคสมัครใจไม่บังคับทำ แต่หากมีไว้ข้อดี คือ คุ้มครองทั้งคนคุ้มครองทั้งรถ ช่วยจ่ายค่าชดเชยในวงเกินที่เกินจาก พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์คุ้มครอง

รถไม่ว่ามอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ จำเป็นต้องมีพ.ร.บ.รถ เหตุผลประการแรกคือ เป็นการเคารพกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เสียเงินซื้อประกันหลักร้อย ดีกว่าเสียค่าปรับสูงสุดถึงหลักหมื่น

ประการที่สอง สำคัญมากคือ พ.ร.บ. รถจะให้ความคุ้มครองเรายามเกิดอุบัติเหตุรถชน ความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต นำมาซึ่งความสูญเสียด้านทรัพยากรเงิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ยิ่งหากเสียชีวิตย่อมส่งผลกระทบตามมาใหญ่หลวง การมีพ.ร.บ.รถจะช่วยให้หมดความกังวลได้บางส่วนในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ยิ่งหากอุบัติเหตุนั้นพิสูจน์แล้วว่าเราเป็นฝ่ายถูก ความคุ้มครองจะเพิ่มขึ้น ทั้งกรณีสูญเสียอวัยวะ ค่าทำศพกรณีเสียชีวิต นอนโรงพยาบาลได้ค่าชดเชย 200 บาทต่อวัน

จากที่เราอ่านข้อมูลมาทั้งหมดข้างต้นแล้ว ยืนยันได้ว่าพ.ร.บ.รถมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการขับขี่

เนื่องจากประกันภัยรถจักรยานยนต์มีสองแบบ ทั้งภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. และภาคสมัครใจที่เราซื้อกับโบรคเกอร์หรือบริษัทประกันภัย ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่มีไว้เพิ่มความอุ่นใจมากกว่า เพราะประกันจะเข้ามาดูแลค่าใช้จ่ายส่วนเกินจาก พ.ร.บ. และที่สำคัญ พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคล ไม่ได้ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถ การทำประกันรถจักรยานยนต์ไว้ก็จะดูแลเพิ่มเติมในส่วนนี้

ผลิตภัณฑ์ประกันรถจักรยานยนต์

ประเภทของประกันรถจักรยานยนต์

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันรถจักรยานยนต์

รับใบเสนอราคาประกันรถจักรยานยนต์


เช็คเบี้ยประกัน